รายละเอียดวิชาและโครงการสอน

รหัสวิชา EEG452 ชื่อวิชา การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง


ภาคการศึกษาที่ 2/2554
วันศุกร์ เวลา 18.00-20.50 น. ห้องเรียน 11-1001

สอบกลางภาค งด
สอบปลายภาค วันที่ 29 มีนาคม 2555 เวลา 17.30-20.30 น.



อาจารย์ผู้สอน รศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี
คุณวุฒิ D.Eng. in Electric Power System Management

ชั่วโมงประจำสำนักงาน (Office Hour) วันจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
สถานที่ติดต่อ อาคาร 5 ห้อง 5-1204 โทร 0-2579-1111 ต่อ 2272
Email: keerati.ch@spu.ac.th

คำอธิบายรายวิชา
การวิเคราะห์เครือข่ายของระบบส่งจ่ายและจำหน่าย การศึกษาเกี่ยวกับโหลดโฟลว์และปัญหาการควบคุม การวิเคราะห์ลัดวงจรแบบสมมาตร การวิเคราะห์ลัดวงจรแบบไม่สมมาตร การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลังในสภาวะทรานเชี้ยนท์ การทำงานเชิงเศรษฐศาสตร์ของระบบไฟฟ้ากำลัง อินซูเลชั่นโคออดิเนชั่น การต่อลงดิน

วิชาบังคับก่อน EEG 351 ระบบไฟฟ้ากำลัง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานการวิเคราะห์เครือข่ายของระบบไฟฟ้ากำลัง
2. เพื่อให้เข้าใจการคำนวณเกี่ยวกับการไหลของกำลังงานไฟฟ้าและการควบคุม
3. เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานการวิเคราะห์การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดต้นทุนการผลิตต่ำ
4. เพื่อให้เข้าใจการคำนวณการลัดวงจรแบบสมมาตร
5. เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานขององค์ประกอบสมมาตร
6. เพื่อให้เข้าใจการคำนวณการลัดวงจรแบบไม่สมมาตรด้วยองค์ประกอบสมมาตร
7. เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานของการป้องกันในระบบไฟฟ้ากำลัง
8. เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานการวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลัง
9. เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานของการประสานสัมพันธ์ฉนวนและการต่อลงดินในระบบไฟฟ้ากำลัง

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. อธิบายหลักการ ทฤษฎี และการคำนวณ โดยยกตัวอย่างประกอบ
2. ตั้งคำถามให้นักศึกษาคิดและแสดงความคิดเห็น
3. พยายามกระตุ้นให้นักศึกษาวิเคราะห์ และหาเหตุผลในสิ่งที่ได้เรียนรู้
4. นำเสนอแนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชา

สื่อการสอน
1. สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. หนังสือ วารสาร บทความวิชาการ เอกสารประกอบการสอน

การประเมินผล
1. การบ้านและงานมอบหมาย 15%
2. การสอบย่อย 20%
3. สอบกลางภาค 15 %
4. สอบปลายภาค 50 %
รวม 100 %

ตำราและเอกสารประกอบการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. J.J. Grainger, and W.D. Stevenson: Power System Analysis, McGraw-Hill, Inc,
International Editions , 1994
3. Hadi Saadat : Power System Analysis, McGraw-Hill, Inc, International Editions, 1999
4. Charles A.Gross: Power System Analysis, John Wiley&Sons, 1986

หัวข้อการสอนตามสัปดาห์
1. การนำเข้าสู่บทเรียน แนะนำความสำคัญและเนื้อหาบทเรียน พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียน การวัดและประเมินผล
2. การคำนวณสมการโครงข่ายระบบไฟฟ้ากำลังและเมตริกซ์แอตมิตแตนซ์ (Y-Bus)
3. การยุบเมตริกซ์และการคำนวณเมตริกซ์บัสอิมพิแดนซ์ (Z-Bus)
4. สมการการไหลของกำลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง
5. การวิเคราะห์การไหลของกำลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง
6. การควบคุมการไหลของกำลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง
7. การวิเคราะห์การลัดวงจรแบบสมมาตร
8. สอบกลางภาค
9. องค์ประกอบสมมาตรในระบบไฟฟ้ากำลัง
10. การวิเคราะห์การลัดวงจรแบบไม่สมมาตร
11. การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดต้นทุนการผลิตต่ำสุด
12. เสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลัง
13. หลักการประสานสัมพันธ์ฉนวนในระบบไฟฟ้ากำลัง
14. หลักการต่อลงดินในระบบไฟฟ้ากำลัง
15. สรุปทบทวนเนื้อหารายวิชา